หลักสูตรและเกณฑ์การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาศัลยศาสตร์กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ พ.ศ. ๒๕๖๓
๑. ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการ
ประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์
ภาษาอังกฤษ Residency Training in Surgery
๒. ชื่อวุฒิบัตร
ชื่อเต็ม
ภาษาไทย วุฒิบัตรแสดงความรู&ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์
ภาษาอังกฤษ Diploma of the Thai Board of Surgery
ชื่อย่อ
ภาษาไทย วว. สาขาศัลยศาสตร์
ภาษาอังกฤษ Dip. Thai Board of Surgery
๓. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ โดยมีคณะกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาศัลยศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินงาน (ผนวก ๑)
๔. พันธกิจของการฝึกอบรม/หลักสูตร
กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ มีพันธกิจในการเป็นสถาบันทางวิชาการศัลยศาสตร์เพื่อประชาชน ที่มุ่งการพัฒนาและการใช้ความรู้ทางศัลยศาสตร์ อย่างมีประสิทธิภาพดังนี้
- มีการกำหนดพันธกิจของหลักสูตร คือ มีมาตรฐาน คุณธรรม จริยธรรม และความทันสมัย
- มาตรฐาน หมายถึง มาตรฐานของแพทย์ในการประกอบวิชาชีพ
- คุณธรรม หมายถึง คุณงามความดี ความมีน้ำใจของแพทย์ที่มีต่อผู้ป่วย ญาติและคนรอบข้าง
- จริยธรรม หมายถึง จริยธรรมแพทย์ ที่ต้องเน้นประโยชน์ผู้ป่วยสูงสุด
- ความทันสมัย หมายถึง แพทย์ต้องมีการเรียนรู้ในความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ทั้งเทคโนโลยีทางการแพทย์ และเทคโนโลยีทั่วไป และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในวิชาชีพได้
- มีการจัดการความรู&และการวิจัยที่เน&นกระบวนวิเคราะห์และสังเคราะห์ฐานข้อมูลระดับโรงพยาบาล และประเทศ โดยบูรณาการเข้ากับระบบบริหารคุณภาพ WFME และ HA (Hospital Accreditation)
- การบริการวิชาการด้านศัลยศาสตรสู่สังคม โดยเน้นทุกกลุ่มโรคที่สำคัญและคำนึงถึงบริบทความต้องการ ของโรงพยาบาลและประเทศเป็นหลัก
- ทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม เน้นความกตัญญูกตเวทีต่อศัลยแพทย์รุ่นพี่ ศัลยแพทย์อาวุโส รวมถึงตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
๕.ผลลัพธ์ของการฝึกอบรม/หลักสูตร
แพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยศาสตร์ต้องมีคุณสมบัติ และความสามารถขั้น
พื้นฐานตามสมรรถนะหลักทั้ง ๖ ด้านดังนี้
๑. การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care)
๑.๑ มีทักษะในการดูแลผู้ป่วยศัลยกรรมตั้งแต่ ระะยะก่อนการผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัด และภายหลังการผ่าตัด
รวมไปถึงการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในแต่ละระยะอีกด้วย
๑.๒ มีทักษะในการทำหัตถการทางศัลยกรรมทั่วไปตามที่ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ กำหนดโดยอิงเกณฑ์กำหนดของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
๑.๓ มีทักษะในการช่วยชีวิตขั้นสูงในผู้ป่วยอุบัติเหตุ (Advanced Trauma Life Support)
๒. การมีความรู้ความเชี่ยวชาญและความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน
(Medical knowledge and Skills)
๒.๑ เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกายและจิตใจรวมไปถึงความรู้ทางการแพทย์คลินิกที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยศัลยกรรม
๒.๒ มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญในสาขาศัลยศาสตร์
๓.การเรียนรู้จากการปฏิบัติและการพัฒนาตนเอง (Practice-based Learning and Improvement)
๓.๑ ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์
๓.๒ วิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์ได้
๓.๓ เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติงานได้
๔. ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)
๔.๑ นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย บันทึกรายงานทางการแพทย์ และอภิปรายปัญหาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๒ ถ่ายทอดความรู้และทักษะ ให้แพทย์, นักศึกษาแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์
๔.๓ สื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีความเมตตา เคารพการ
ตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย
๔.๔ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๕ เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคลากรอื่น ๆ โดยเฉพาะทางศัลยกรรม
๕. ความเป็นมืออาชีพ(Professionalism)
๕.๑ มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน ร่วมวิชาชีพและชุมชน
๕.๒ ถ่ายทอดความรู้และทักษะ ให้แพทย์ นักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์
๕.๓ มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (Continuous professional development)
๕.๔ การบริบาลโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานการดูแลแบบองค์รวม คำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผ่าตัดรักษา
๕.๕ คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคลากรอื่นโดยเฉพาะสาขาวิชาศัลยศาสตร์
๖. การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based Practice)
๖.๑ มีความรู้เกี่ยวกับระบบการดูแลสุขภาพของประเทศ
๖.๒ มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
๖.๓ใช&ทรัพยากรทางการแพทย์อย่างเหมาะสม (Cost consciousness medicine) และสามารถปรับเปลี่ยน
การดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ